วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

วันที่ 2 กันยายน 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์  จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 2 กันยายน 2557
เวลา 08.30-12.20 น.





          ความรู้ที่ได้รับ

                         วันนี้ให้นักศึกษานำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
           คนแรก       
             Miss Kamonwan Nakwichen  
             เรื่อง  วิทยาศาสตร์และการทดลอง 
           คนที่สอง      
             Miss Sirada Sukbut                
             เรื่อง ภารกิจตามหาใบไม้
           คนที่สาม   
             Miss Siripon Pudlo   
             เรื่องไม่เล็กของเด็กชายขอบ กับการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการ
           คนที่สี่          
             Miss Siriwan Krutnia   
             เรื่อง การแยกประเภทเมล็ดพืช
           คนที่ห้า        
             Miss Kwanruthai Yaisuk    
             เรื่อง เจ้าลูกโป่ง

                      เมื่อแต่ละคนได้ออกไปพูดถึงบทความแล้วครูก็ให้นักศึกษาช่วยกันอภิปรายถึงบทความ                   แต่ละเรื่องเพื่อให้เกิดความเข้าใจกับเนื้อหาที่ออกมานำเสนอ


                     วันนี้สอนถึงธรรมชาติของเด็กและอธิบายถึงคุณลักษณะตามวัย การจัดกิจกรรมพัฒนาเด็ก               และหลักการแนวคิดตามนักทฤษฎี ดังนี้
  
              ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย 
                 -พอใจคนที่ตามใจ
                 -สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
                 -มีช่วงความสนใจสั้น (8-10 นาที)
                 -ชอบถาม "ทำไม" ตลอดเวลา
                 -อยากรู้อยากเห็นรอบตัว
                 -ชอบเล่นแบบคู่ขนาน 
                 -ช่วยตนเองได้
                 -ร้องเพลงง่ายๆแสดงท่าทางเลียนแบบ
                 -ชอบคิดที่จะทำให้ผู้ใหย่พอใจและได้คำชม


              คุณลักษณะตามวัย อายุ 3-5 ปี

           3 ปี   สามารถบอกชื่อของตนเองได้และสามารถสำรวจสิ่งต่างๆได้
           4 ปี   สามารถจำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสและพยายามแก้ปัญหาด้วยตนเอง
           5 ปี   สามารถบอกถึงชื่อ นามสกุล และอายุได้ สนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวได้


             การจัดกิจกรรมพัฒนาเด็ก
           -จัดเพื่อให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ หู ตา จมูก ปาก ลิ้น กาย
           -จัดเพื่อให้เด็กเรียนรู้จากเรื่องใกล้ตัวและสามารถจับต้องได้
           -จัดเพื่อให้เด็กมีโอกาสแสดงความคิดเห็น มีความมั่นใจในการตอบมากขึ้น
           -จัดเพื่อให้เด็กฝึกทักาะการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ กับสิ่งที่ได้ทำ



            นักทฤษฎี 
                 กีเซล (Gesell)   เชื่อว่า พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควร              พัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ 
                 ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็น            ผู้ใหญ่ หากเด็ก ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ จะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับ                ข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
                 อีริคสัน (Erikson)  เชื่อว่า ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมอง              โลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น 
                 เพียเจท์ (Piaget)  เชื่อว่า พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมี                        ปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา            และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น 
                 ดิวอี้ (Dewey)   เชื่อว่า เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ 
                 สกินเนอร์ (Skinner)   เชื่อว่า ถ้าเด็กได้รับการชมเชย และประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม              เด็กสนใจที่ทำต่อไป 
                 เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi)   เชื่อว่า ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้ง           ด้านร่างกายและสติปัญญา 
                 เฟรอเบล (Froeble)   เชื่อว่า  ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้             เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
                 เอลคายน์ (Elkind)    เชื่อว่า  การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก

             การนำไปประยุกต์ใช้
                   สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยในแต่ละวัยได้มากขึ้นเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้               ที่แท้จริงและสามารถนำทฤษฎีต่างๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้

      ประเมินตนเอง       ตั้งใจฟังและเข้าใจถึงสิ่งที่ได้เรียน
      ประเมินเพื่อน         เพื่อนๆตั้งใจฟังและซักถามสิ่งที่ไม่เข้าใจจากอาจารย์ผู้สอน
      ประเมินอาจารย์     บอกแนวแก้ไขในการนำเสนอบทความให้มีความมั่นใจมากขึ้น พูดให้ชัดเจน และ                                         แนะนำในเรื่องการแต่งตัวทรงผม 





  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น