วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วันที่ 2 ธันวาคม 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่  16
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์  จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 2 ธันวาคม 2557
เวลา 08.30-12.20 น.






 กิจกรรมในวันนี้
       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้นำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัยออกไปนำเสนอโดยสิ่งที่นำเสนอมีสิ่งใดที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และกิจกรรมที่น่าสนใจจากวิจัยและโทรทัศน์ครูนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ได้จริงหรือไม่ 
        จากนั้นให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มตามที่เขียนแผนการสอนและทำแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียนเพื่อสามารถนำไปให้ผู้ปกครองได้รู้ว่าสิ่งที่เด็กเรียนเรียนรู้อะไรบ้างโดยสิ่งที่เรียนคือหน่วยที่นักศึกษาได้เขียนแผนการสอนร่วมกัน โดยแผ่นพับจะมีสิ่งที่เด็กสามารถนำกลับไปทำที่บ้านร่วมกับพ่อแม่ได้และผู้ปกครองยังมีส่วนร่วมกับสิ่งที่ลูกได้เรียนจากแผ่นพับที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นเพื่อทำให้ลูกเกิดการเรียนรู้และสิ่งแปลกใหม่จากที่บ้านและโรงเรียน สานสัมพันธ์จากคนในครอบครัวรวมถึงคนรอบข้างอีกด้วยและเด็กสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องให้พ่อแม่สอน














แผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียน





การนำไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำการทำแผ่นพับไปใช้ในการเรียนการสอนโดยส่งให้ผู้ปกครองได้ดูว่าสิ่งที่โรงเรียนสอนนั้นเด็กสามารถเรียนรู้ได้และลงมือปฏิบัติทำจริงและสามารถนำเทคนิคการทำแผ่นพับจากที่อาจารย์แนะนำไปใช้ในการต่อยอดการทำแผ่นพับ


ประเมินตนเอง
     ร่วมมือทำแผ่นพับของกลุ่ม ช่วยการเขียนแผ่นพับ
ประเมินเพื่อน
     ร่วมกันทำแผ่นพับและรับฟังข้อแก้ไขจากที่อาจารย์อธิบายหลังจากส่ง
ประเมินอาจารย์
     ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำแผ่นพับอย่างระเอียดเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ได้จริง



            




สรุปบทความ


เรื่อง  ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา เป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงสุดของชีวิต ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยคิดหาเหตุและผล แสวงหาความรู้ แก้ปัญหาได้โดยควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง ควรส่งเสริมให้เด็กได้มีการพัฒนาทั้ง 7 กระบวนการดังนี้
      1.)ทักษะการสังเกต คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5รวมกันไปสัมผัสกับวัตถุหรือเหตุการณ์
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังเกตคือ
 - การสังเกตโดยใช้ตา
 - การสังเกตโดยใช้หู    
 - การสังเกตโดยใช้จมูก
 - การสังเกตโดยใช้ลิ้น
 - การสังเกตโดยใช้การสัมผัสทางผิวหนัง
      2.)ทักษะการจำแนกประเภท คือการแบ่งสิ่งของโดยหาเกณฑ์จะมี 3 อย่าง คือความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งเด็กจะลือกแต่ละเกณฑ์ในการใช้ เช่น กิจกรรมการแยกประเภทเมล็ดพืช เมล็ดพืชจะมีความแตกต่างกัน เช่น ขนาด รูปร่าง สี และพื้นผิว เป็นต้น
      3.)ทักษะการวัด คือการวัดหาปริมาณของสิ่งที่ต้องการทราบ กิจกรรมที่ใช้จะเป็นการวัดโต๊ะเรียนสูงกี่คืบ  กระดาษดำยาวกี่ศอก เป็นต้น
      4.)ทักษะการสื่อความหมาย คือการพูด การเขียนรูปภาพและท่าทาง การแสดงสีหน้ารวมทั้งความรู้สึก การจัดกิจกรรมเช่น กิจกรรมที่ให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุที่ลอยน้ำได้ วัตถุบางอย่างสามารถลอยได้ เป็นต้น
      5.)ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล คือการเพิ่มเติมกับความคิดเห็นที่มีอยู่ให้สมเหตุสมผลโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเข้ามาช่วย ข้อมูลอาจมาจากการสังเกต การวัดหรือทดลอง
      6.)ทักษะการหาความสัมพัมธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา คือที่ว่างที่วัตถุครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสนั้นสำหรับเด็กปฐมวัยอาจได้แก่ การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3มิติ การเขียนภาพ2มิติแทน3มิติ การบอกทิศทาง กิจกรรมที่ส่งเสริมเช่น การสังเกตเงาเพื่อให้เด็กสามารถบอกชื่อวัตถุจากการสังเกตและเปรียบเทียบเงาที่ได้กับวัตถุของจริงได้
      7.)ทักษะการคำนวณ คือความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่างและการคำนวณที่ซับซ้อน เช่นการหาสูตรตั้งแต่ง่ายๆจนยากขึ้นเรื่อยๆ ทักษะที่ควรส่งเสริมเด็กปฐมวัย ได้แก่ การนับจำนวนของวัตถุ การนับจำนวนตัวเลข หรือบอกลักษณะต่างๆ



แหล่งที่มา    http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=20593









สรุปโทรทัศน์ครู



เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
                
              วิดีโอนี้ได้เป็นการสนทนาระหว่างอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์ได้อภิปลายกันว่าสอนเด็กอย่างไรให้จิตวิทยาศาสตร์ เด็กส่วนมากจะเบื่อวิทยาศาสตร์เพราะเป็นวิชาที่น่าเบื่อสำหรับเด็กแต่สิ่งที่จะทำให้เด็กเกิดจิตวิทยาศาสตร์นั้นขึ้นอยู่กับการเรียนการสอนของครูว่าจะมีสิ่งเร้าที่จะทำให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ ครูควรจะมีการสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนให้มีความน่าตื่นเต้น สนุกสนาน โดยนำการทดลองเข้ามาเป็นตัวดึงดูดดความสนใจมากขึ้นและการวัดผลว่าเด็กจะมีจิตวิทยาศาสตร์หรือไม่จะเกิดจากการสังเกตของครูว่าเด็กมีความสนใจ อยากรู้อยากเห็น ตื่นเต้นกับการทดลองมากแค่ไหน หรือมีความสนุกสนานกับกิจกรรมที่ทำไหม หรืออาจจะสัมภาษณ์จากผู้ปกครองเมื่อเด็กกลับไปที่บ้านได้เล่าให้พ่อแม่ฟังไหมว่าเด็กได้ทดลองหรือเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องใด  ในการสอนวิชาวิทยาสาสตร์จะเป็นการสอนจากสิ่งที่ใกล้ตัวไปสิ่งไกลตัวหรือรูปธรรมไปนามธรรม เช่น การตื่นนอนมาอาบน้ำแปรงฟัง เด็กจะมีการสังเกตว่าทำไมเราต้องบีบยาสีฟันในตอนเช้าและทำไมยาสีฟันถึงทำให้ฟันสะอาดและหอม เป็นต้น ครูควรมีการเตรียมตัวเมื่อมีการทดลองทุกครั้งเพราะเด็กไม่สามารถเตรียมได้เองและครูควรวางแผนก่อนการเรียนการสอนทุกครั้ง















สรุปวิจัย


ชื่อวิจัย     การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ผู้แต่ง     นางสาว จุฑามาศ  เรือนก๋า

วัตถุประสงค์ 
1.เพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.เพื่อศึกษาผลการใช้ชุกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

กลุ่มตัวอย่าง

- ด้านประชากร
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านหลวง อำเภอฝาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

- ด้านเนื้อหา
หน่วยการเรียนรู้ที่1-หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี เนื้อหาเกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ รูปร่าง ทีอยู่อาศัยและอาหารของสัตว์แต่ละชนิก
หน่วยการเรียนรู้ที่2-หน่วยผลไม้น่าทาน เนื้อหาเกี่ยวกับชื่อลักษณะ รูปร่าง ประโยชน์และวิธีรับประทานผลไม้แต่ละชนิด
หน่วยการเรียนรู้ที่3-หน่วยดอกไม้แสนสวย เนื้อหาเกี่ยวกับชื่อ ส่วนประกอบ ประโยชน์และวิธีการดูแลรักษาดอกไม้
หน่วยการเรียนรู้ที่4-หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก เนื้อหาเกี่ยวกับช่อ ส่วนประกอบ ประโยชน์และวิธีการดูแลรักษาต้นไม้
หน่วยการเรียนรู้ที่5-หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ เนื้อหาเกี่ยวกับสสาร อากาศ การจมการลอยและแม่เหล็ก


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด้ฏปฐมวัย จำนวน 5 ชุด 
- แบบทดสอบวัดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 4 ทักษะเป็นข้อคำถามที่มี่ลักษณะเป็นรูปภาพ จำนวน 4 ชุด 25 ข้อ

การดำเนินการวิจัย
   ใช้การจัดกิจกรรมเป็นเวลาติดต่อกัน วันละ 1ชุด ชุดละ 1 ชั่วโมง รวม 20 ชั่งโมง

สรุปผลการวิจัย
    ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้นเมื่อใช้ชุดฝึกทักษาะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กมีความสนใจและพบว่าเด็กมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าการจัดประสบการณ์และเล่นตามมุมปกติ
   







วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่  15
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์  จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 25 พฤศจิกายน 2557
เวลา 08.30-12.20 น.




กิจกรรมในวันนี้

     ให้นักศึกษาแต่ละคนออกไปนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์และบอกว่าสื่งที่ตนเองประดิษฐ์นั้นเกิดขึ้นจากอะไร เช่น อากาศ แสง เสียง เป็นต้น 
     สื่อที่ทำมาคือ ลูกโป่งเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งการที่หลอดหมุนได้นั้นเกิดได้เพราะแรงดันของอากาศ
เมื่อปล่อยให้ลมไหลออกจากลูกโป่งทำให้เกิดแรงดันอากาศส่งผลทำให้หลอดหมุนตามทิศทาง
     จากนั้นให้นักศึกษาออกไปนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู โดยพูดสรุปจากสิ่งที่ได้ดูและได้ศึกษามาทำการพูดคุยกันในห้องว่าสิ่งที่นำเสนอสามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยและจกิจกรรมไหนน่าสนใจบ้าง



ลูกโป่งเฮลิคอปเตอร์





        กิจกรรมน้ำแดงแช่แข็ง


อุปกรณ์ 
- กะละมัง
- ทัพพี
- น้ำแดงเฮลบูบอย
- น้ำเปล่า
- น้ำแข็ง
- เกลือ
- ถุงเล็ก
- หนังยาง

วิธีทดลอง
   ให้นำน้ำแดงมาผสมกับน้ำเปล่าจากนั้นใช้ทัพพีตักใส่ถุงประมาณพอดีและใช้หนังยางมัดให้แน่น จากนั้นให้ทีละคนได้ตักและมัดรวมกันไว้ในกะละมังที่เตรียมไว้ เมื่อครบแล้วใส่น้ำแข็งลงไปและใส่เกลือ จากนั้นหมุนกะลังมังให้น้ำแข็งและเกลือผสมรวมกันเผื่อที่จะให้น้ำแดงในถุงแข็ง
   





การนำไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำการทดลองน้ำแดงแช่แข็งไปจัดกิจกรรมในห้องเรียนกับเด็กปฐมวัยได้และสามารถทำให้เด็กได้มีความสนุกสนานเพลิดเพลินกับการทำกิจกรรม

ประเมินตนเอง
    ร่วมการทดลองและสนุกเพลิดเพลินกับการทดลอง
ประเมินเพื่อน
    ชอบการทดลองกันส่วนใหญ่และให้ความสนใจกับการที่อาจารย์เตรียมการทดลองมา เมื่อมีข้อสงสัยจะถามอาจารย์ทันที
ประเมินอาจารย์
     ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแผนการสอนทีละคน พูดถึงการสอบปลายภาคเรียน และให้คำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่นักศึกษาสงสัยรวมทั้งการทดลองที่นำมาให้นักศึกษาทดลองมีความสนใจมาก





         



วันที่ 19 พฤษจิกายน 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่  14
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์  จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 19 พฤศจิกายน 2557
เวลา 08.30-12.20 น.






กิจกรรมวันนี้
      อาจารย์พูดถึงการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูและการสรุปใส่บล็อคโดยมีข้อสรุปอย่างไรบ้างเป็นส่วนประกอบ เช่น วิจัยจะมีนิยาม การทดลอง เครื่องมือที่ใช้-ใช้อย่างไร ส่วนโทรทัศน์ครูจะเป็นการสรุปจากวิดีโอโดยจากสิ่งที่ดูเป็นการส่งเสริมหรือการแก้ไข เป็นต้น
      เพื่อนได้ออกมานำเสนอโทรทัศน์ครูในเรื่อง "ของเล่นของใช้" และหลังจากนั้นนำเสนอแผนต่อจากกลุ่มที่เหลือคือ


หน่วยดิน




ประโยชน์ของสับปะรด




        กิจกรรมทำวาฟเฟิล









   อาจารย์เตรียมอุปกรณ์เหล่านี้มาให้นักศึกษาได้เรียนรู้และทำกิจกรรมทำวาฟเฟิลง่ายๆ โดยซื้อแป้งวาฟเฟิลแบบกล่องมา และแบ่งแป้งกลุ่มเท่าๆกันจากนั้นใส่น้ำ ใส่ไข่ ใส่เนย ลงไป ตีคนให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นเปิดเตาทำวาฟเฟิลให้ร้อนและทาเนย เทสิ่งที่คนให้เข้ากันลงไปและหนีบเครื่องทำวาฟเฟิลรอวาฟเฟิลสุกได้ที่


การนำไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำเพลงที่เพื่อนนำเสนอในแผนการสอนไปร้องได้จิง จำง่าย และนำการทำวาฟเฟิลไปใช้จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กได้มีพัฒนาการครบทั้ง4ด้านพร้อมทั้งความสนุกสนามอีกด้วย

ประเมินตนเอง
     ตื่นเต้นกับการทำวาฟเฟิล วันนี้สนุกมาๆเลยค่ะ ชอบมากๆ
ประเมินเพื่อน
     สนใจกับกิจกรรมในวันนี้มากและช่วยกันทำวาฟเฟิล
ประเมินอาจารย์
     ให้คำแนะนำกับการจัดกิจกรรมประเภทนี้เพราะเด็กสามารถได้รับอันตรายได้และนำกิจกรรมน่าสนใจมาให้ทดลองทำ



            




วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่  13
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์  จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 11 พฤศจิกายน 2557
เวลา 08.30-12.20 น.





กิจกรรมวันนี้
      วันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอแผนต่อจากสัปดาห์ที่แล้วโดยการนำเสนอจะมีตัวอย่างจากสัปดาห์ที่แล้วและได้ให้ทำกิจกรรมของแผนไข่จากสัปดาห์ที่แล้วอีกด้วย


หน่วย สัปปะรด(ประโยชน์และโทษ)
ขั้นนำ ครูถามเด็กว่าสัปปะรดมีประโยชน์อย่างไรและสัปปะรดสามารถนำไปทำอะไรได้อีกไหม?
ขั้นสอน
    ครูเตรียมอุปกรณ์มาวางบนโต๊ะและถามเด็กๆว่าสิ่งที่อยู่บนโต๊ะมีอะไรบ้าง และครูบอกใช้จากสิ่งที่เด็ฏเรียนมาเมื่อวานโดยการทวนประโยชน์ของสัปปะรดและบอกว่าจะมาทำน้ำสัปปะรดกัน จากนั้นสาธิตให้เด็กดูว่าน้ำสัปปะรดทำอย่างไรและให้เด็กๆจับกลุ่มเปลี่ยนผลัดกันออกมาทำ
ขั้นสรุป   ครูถามถึงประโยชน์ของสัปปะรดและให้เด็กตอบตามจินตนาการ



หน่วยส้ม (ชนิดของส้ม)
ขั้นนำ  ครูร้องเพลงส้ม1รอบและให้เด็กร้องตามครู
ขั้นสอน
    ครูถามสิ่งที่อยู่บนโต๊ะและถามว่าเด็กๆรู้จักส้มกี่ชนิดและเห็นส้มที่ไหนกันบ้าง จากนั้นใช้คำถามปลายเปิดกับเด็กในเรื่องชนิดของส้มโดยเอาคณิตศาสตร์เข้ามาใช้เสริมในการจับคู่ส้มและเรื่องมากกว่าน้อยกว่า 
ขั้นสรุป  ครูและร่วมกันร้องเพลงส้ม





หน่วยทุเรียน (ลักษณะของทุเรียน)
ขั้นนำ 
    ครูใช้คำถามในการเชื่อมโยงโดยถามว่าเด็กๆคิดว่าสิ่งที่มีหนามและสีเหลืองกลิ่นแรงๆคือผลไม้อะไร
ขั้นสอน
    ครูนำทุเรียนมาให้เด็กดูว่าทุเรียนหมอนทองกับทุเรียนชะนีมีความแตกต่างกันอย่างไร และใช้คำถามกระตุ้นเด็ก เช่น ลักษณะของทุเรียนหมองทอง มีลักษณะอย่างไรบ้างค่ะ มีสีอะไรบ้างที่เด็กๆเห็น เป็นต้น
จากนั้นครูทำการบันทึกสิ่งที่เด็กตอบ
ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันสรุปความแตกต่างระหว่างทุเรียนหมอนทองและทุเรียนชะนี





หน่วยมด (ลักษณะของมด)
ขั้นนำ  ครูร้องเพลงมดให้ฟัง1รอบและให้เด็กร้องตาม
ขั้นสอน
    ครูนำภาพมดแดงและมดดำมาให้เด็กดูและถามว่านี่คือมดอะไรและถามว่าสิ่งที่เห็นเด็กๆคิดว่ามีลักษณะอย่างไรเช่น สี ขนาด รูปร่าง เป็นต้น จากนั้นทำการบันทึกจากสิ่งที่เด็กตอบ
ขั้ยสรุป  ครูและเด็กร่วมกันสรุปความเหมือนและความต่างกับเด็กลงอินเตอร์เซก




หน่วยน้ำ (การทดลอง)
ขั้นนำ  ครูถามเด็กๆว่าสิ่งที่อยู่บนโต๊ะที่เด็กเห็นมีอะไรบ้าง
ขั้นสอน  ครูปเตรียมอุปกรณ์การทดลองมาให้เด็กๆดูดังนี้
 - ภาชนะน้ำตามรูปทรง   การเทน้ำใส่ภาชนะ 3 ใบและอธิบายถึงรูปทรงว่าเมื่อเทน้ำลงไปในภาชนะขนาดไหนน้ำก็จะมีรูปทรงตามภาชนะ
- น้ำไหลลงจากที่สูงลงที่ต่ำ เทน้ำใส่ถุงและเอนถุงไป1ด้าน จากนั้นเจาะรูผ่านถุงและเมื่อเราเทน้ำไปฝั่งหนึ่งจะทำให้น้ำไหลลงมายังที่ต่ำเพราะคุณสมบัติของน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
- เกลือน้ำแข็ง   นำเชือกตัด 2 เส้น ยาวพอเหมาะ และนำน้ำแข็งมา2ก้อนโดยก้อนที่1จะไม่โรยเกลือลงบนน้ำแข็งและน้ำแข็งก้อนที่2โรยเกลือลงบนน้ำแข็งจากนั้นน้ำมาติดกับน้ำแข็งทั้ง2ก้อน และสังเกตได้ว่าน้ำแข็งไม่ร่วงเมื่อปล่อยเชือกเพราะเกลือละลายความร้อนในน้ำแข็ง ส่วนน้ำแข็งที่หล่นเป็นเพราะไม่มีมีเกลือไปละลายความร้อน
- เปลี่ยนสถานะของแข็ง/ของเหลว นำน้ำแข็งมาใส่แก้วและทำการจุดเทียน จากนั้นทำเทียนไปจ่อที่ก้นแก้วทำให้สังเกตได้ว่าจะมีควันออกมาจากปากแก้วและละอองน้ำเพราะว่าเมื่อน้ำแข็งโดนความร้อนทำให้น้ำแข็งละลายและละอองน้ำทำให้เกิดไอน้ำขึ้นมาบนปากแก้ว หรือเรียกอีกอย่างว่าเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว





   จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายให้ทุกคนฟังว่าจะทำแผนการสอนของหน่วยไข่ต่อโดยแบ่งโต๊ะออกเป็น5กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะเป็นแผนการสอนจากหน่วยไข่ได้เขียนขึ้น คือ ทาโดยากิไข่ข้าว
     



การนำไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำกิจกรรมจากแผนการสอนของเพื่อนไปจัดกิจกรรมกับเด็กปฐมวัยได้และสามารถฝึกให้เด็กสามารถรู้จักกล้าแสดงออกและเรียนรู้ได้จริง

ประเมินตนเอง
       ไม่ค่อยมั่นใจกับการนำเสนอแผนกลุ่มมดเท่าไหร่  สนุกกับการทำกิจกรรมทาโกยากิไข่ข้าว
ประเมินเพื่อน
        ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอและช่วยเพื่อนตอบจากสิ่งที่อาจารย์ถาม
ประเมินอาจารย์
       ให้คำแนะนำในการพูดกิจกรรมการสอนหน้าชั้นควรพูดแบบใดและใช้คำถามประเภทใด ไม่ทำให้การนำเสนอน่าเบื่อโดยเอากิจกรรมท้ายคาบมาช่วยให้นักศึกษาไม่รู้สึกเบื่อ



                          


    

วันที่4 พฤศจิกายน 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่  12
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์  จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 4 พฤศจิกายน 2557
เวลา 08.30-12.20 น.





กิจกรรมวันนี้
     ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผน จากที่อาจารย์ได้บอกให้เตรียมตัวมานำเสนอและกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอให้ดูกลุ่มเพื่อนและนำไปปรับปรุงมานำเสนออาทิตย์หน้า กลุ่มของดิฉันให้นำไปปรับปรุงและมานำเสนออาทิตย์ต่อไป
    

นี่คือกลุ่มที่ออกมานำเสนอแผน

ประโยชน์ของข้าว




ประโยชน์ของกล้วย



หน่วยกบ




ประโยชน์ของไข่





การนำไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำการสอนในแต่ละวันของเพื่อนที่นำเสนอไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กเสริมประสบการณ์ได้และสามารถไปเป็นยอดต่อในการคิดกิจกรรมได้ฃ

ประเมินตนเอง
     กลุ่มดิฉันยังไม่พร้อมนำเสนอเพราะยังเตรียมความพร้อมมายังไม่ดีและจะเอาสิ่งที่แก้ไขมานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป
ประเมินเพื่อน
      ตั้งใจนำเสนอแผนการสอนและรับข้อแก้ไขไปปรับปรุง
ประเมินอาจารย์
      ให้คำแนะนำกับการนำเสนอแผนการสอนและสิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติมในแต่ละกลุ่ม



                 



วันที่ 28 ตุลาคม 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่  11
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์  จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 28 ตุลาคม 2557
เวลา 08.30-12.20 น.






กิจกรรมวันนี้
        อาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาและทำการทดลองให้ดู ในการทำทดลองต่างๆจะมีการให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทดลอง และการทดลองน่าสนใจมากๆในวันนี้


กิจกรรมที่1    กระดาษดอกไม้บาน
  
      


สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากทดลอง
      เมื่อเราฉีกกระดาษตามที่อาจารย์บอกและนำมาทดลองกับเพื่อนๆหน้าชั้นเรียน แต่ละคนมีทั้งจมและไม่จม แต่การทดลองนี้จะเป็นการทำให้กระดาษดอกไม้บานออกทีละใบเกิดจากกระดาษเกิดการดูดซับน้ำทำให้เกิดแรงผลักดันทำให้กลีบดอกไม้บานออกทีละใบ



กิจกรรมที่2    ดินนำมันลอยน้ำ/จมน้ำ





สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากทดลอง
     มีการทดลอง2แบบคือการปั้นดินน้ำมันเป็นก้อนกับปั้นให้มันบางๆแบนๆ จากการปั้นเป็นก้อนเมื่อทดลองแล้วดินน้ำมันจะจมแต่เมื่อเปลี่ยนวิธีทดลองนำมาปั้นให้เป็นรูปถ้วยสามารถทำให้ลอยตัวได้เปรียบเทียบได้ว่าดินน้ำมันเมื่อมีมวลน้ำหนักมากจะทำให้จมแต่เมื่อดินน้ำมันมีมวลน้อยจะทำให้เกิดการลอยตัว


กิจกรรมที่3    ภูเขาไฟน้ำ





สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากทดลอง
       จากสิ่งที่อาจารย์ทดลองให้นักศึกษาดูคือนำสายยางไว้ที่ต่ำและอีกสายอยู่ที่สูง จากนั้นทำการดูดน้ำและปล่อยให้น้ำเดินทางตามสายยางพบว่าน้ำที่ไหลลงมาพุ่งแรง เกิดจากคุณสมบัติของน้ำคือไหลจากที่สูงลงสู้ที่ต่ำแต่ถ้าจับสายยางยุในระดับเดียวกันน้ำจะไหลออกมาอย่างช้าๆ


กิจกรรมที่4    ปากกากับน้ำ




สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากทดลอง
      เมื่อเทน้ำใส่แก้วและนำปากกาวางลงไปในน้ำทำให้ปากกามีขนาดใหฐ่ขึ้นกว่าขนาดปกติทำให้เหมือนแว่นขยายและน้ำที่อยู่บนปากแก้วจะมีระดับที่สูงขึ้นเป็นเพราะน้ำหนักของปากกามีมวลมากทำให้น้ำมีระดับสูงขึ้น



การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำการทดลองต่างๆที่เรียนในวันนี้ไปทำการทดลองกับเด็กปฐมวัยได้และสามารถสอดแทรกเข้าไปเป็นการเรียนการสอนเรื่องน้ำได้


ประเมินตนเอง
     มีความสนใจกับการทดลองและตื่นเต้นกับการทดลอง ชอบการทดลองดอกไม้บานที่สุด
ประเมินเพื่อน
     ให้ความร่วมมือและความสนใจกับการทดลอง
ประเมินอาจารย์
      นำกิจกรรมการทดลองที่น่าสนใจและอธิบายถึงการทดลองเมื่อไปใช้กับเด็กควรคำนึงถึงสิ่งใด