บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 11 พฤศจิกายน 2557
เวลา 08.30-12.20 น.
กิจกรรมวันนี้
วันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอแผนต่อจากสัปดาห์ที่แล้วโดยการนำเสนอจะมีตัวอย่างจากสัปดาห์ที่แล้วและได้ให้ทำกิจกรรมของแผนไข่จากสัปดาห์ที่แล้วอีกด้วย
หน่วย สัปปะรด(ประโยชน์และโทษ)
ขั้นนำ ครูถามเด็กว่าสัปปะรดมีประโยชน์อย่างไรและสัปปะรดสามารถนำไปทำอะไรได้อีกไหม?
ขั้นสอน
ครูเตรียมอุปกรณ์มาวางบนโต๊ะและถามเด็กๆว่าสิ่งที่อยู่บนโต๊ะมีอะไรบ้าง และครูบอกใช้จากสิ่งที่เด็ฏเรียนมาเมื่อวานโดยการทวนประโยชน์ของสัปปะรดและบอกว่าจะมาทำน้ำสัปปะรดกัน จากนั้นสาธิตให้เด็กดูว่าน้ำสัปปะรดทำอย่างไรและให้เด็กๆจับกลุ่มเปลี่ยนผลัดกันออกมาทำ
ขั้นสรุป ครูถามถึงประโยชน์ของสัปปะรดและให้เด็กตอบตามจินตนาการ
หน่วยส้ม (ชนิดของส้ม)
ขั้นนำ ครูร้องเพลงส้ม1รอบและให้เด็กร้องตามครู
ขั้นสอน
ครูถามสิ่งที่อยู่บนโต๊ะและถามว่าเด็กๆรู้จักส้มกี่ชนิดและเห็นส้มที่ไหนกันบ้าง จากนั้นใช้คำถามปลายเปิดกับเด็กในเรื่องชนิดของส้มโดยเอาคณิตศาสตร์เข้ามาใช้เสริมในการจับคู่ส้มและเรื่องมากกว่าน้อยกว่า
ขั้นสรุป ครูและร่วมกันร้องเพลงส้ม
หน่วยทุเรียน (ลักษณะของทุเรียน)
ขั้นนำ
ครูใช้คำถามในการเชื่อมโยงโดยถามว่าเด็กๆคิดว่าสิ่งที่มีหนามและสีเหลืองกลิ่นแรงๆคือผลไม้อะไร
ขั้นสอน
ครูนำทุเรียนมาให้เด็กดูว่าทุเรียนหมอนทองกับทุเรียนชะนีมีความแตกต่างกันอย่างไร และใช้คำถามกระตุ้นเด็ก เช่น ลักษณะของทุเรียนหมองทอง มีลักษณะอย่างไรบ้างค่ะ มีสีอะไรบ้างที่เด็กๆเห็น เป็นต้น
จากนั้นครูทำการบันทึกสิ่งที่เด็กตอบ
ขั้นสรุป ครูและเด็กร่วมกันสรุปความแตกต่างระหว่างทุเรียนหมอนทองและทุเรียนชะนี
หน่วยมด (ลักษณะของมด)
ขั้นนำ ครูร้องเพลงมดให้ฟัง1รอบและให้เด็กร้องตาม
ขั้นสอน
ครูนำภาพมดแดงและมดดำมาให้เด็กดูและถามว่านี่คือมดอะไรและถามว่าสิ่งที่เห็นเด็กๆคิดว่ามีลักษณะอย่างไรเช่น สี ขนาด รูปร่าง เป็นต้น จากนั้นทำการบันทึกจากสิ่งที่เด็กตอบ
ขั้ยสรุป ครูและเด็กร่วมกันสรุปความเหมือนและความต่างกับเด็กลงอินเตอร์เซก
หน่วยน้ำ (การทดลอง)
ขั้นนำ ครูถามเด็กๆว่าสิ่งที่อยู่บนโต๊ะที่เด็กเห็นมีอะไรบ้าง
ขั้นสอน ครูปเตรียมอุปกรณ์การทดลองมาให้เด็กๆดูดังนี้
- ภาชนะน้ำตามรูปทรง การเทน้ำใส่ภาชนะ 3 ใบและอธิบายถึงรูปทรงว่าเมื่อเทน้ำลงไปในภาชนะขนาดไหนน้ำก็จะมีรูปทรงตามภาชนะ
- น้ำไหลลงจากที่สูงลงที่ต่ำ เทน้ำใส่ถุงและเอนถุงไป1ด้าน จากนั้นเจาะรูผ่านถุงและเมื่อเราเทน้ำไปฝั่งหนึ่งจะทำให้น้ำไหลลงมายังที่ต่ำเพราะคุณสมบัติของน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
- เกลือน้ำแข็ง นำเชือกตัด 2 เส้น ยาวพอเหมาะ และนำน้ำแข็งมา2ก้อนโดยก้อนที่1จะไม่โรยเกลือลงบนน้ำแข็งและน้ำแข็งก้อนที่2โรยเกลือลงบนน้ำแข็งจากนั้นน้ำมาติดกับน้ำแข็งทั้ง2ก้อน และสังเกตได้ว่าน้ำแข็งไม่ร่วงเมื่อปล่อยเชือกเพราะเกลือละลายความร้อนในน้ำแข็ง ส่วนน้ำแข็งที่หล่นเป็นเพราะไม่มีมีเกลือไปละลายความร้อน
- เปลี่ยนสถานะของแข็ง/ของเหลว นำน้ำแข็งมาใส่แก้วและทำการจุดเทียน จากนั้นทำเทียนไปจ่อที่ก้นแก้วทำให้สังเกตได้ว่าจะมีควันออกมาจากปากแก้วและละอองน้ำเพราะว่าเมื่อน้ำแข็งโดนความร้อนทำให้น้ำแข็งละลายและละอองน้ำทำให้เกิดไอน้ำขึ้นมาบนปากแก้ว หรือเรียกอีกอย่างว่าเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว
จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายให้ทุกคนฟังว่าจะทำแผนการสอนของหน่วยไข่ต่อโดยแบ่งโต๊ะออกเป็น5กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะเป็นแผนการสอนจากหน่วยไข่ได้เขียนขึ้น คือ ทาโดยากิไข่ข้าว
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำกิจกรรมจากแผนการสอนของเพื่อนไปจัดกิจกรรมกับเด็กปฐมวัยได้และสามารถฝึกให้เด็กสามารถรู้จักกล้าแสดงออกและเรียนรู้ได้จริง
ประเมินตนเอง
ไม่ค่อยมั่นใจกับการนำเสนอแผนกลุ่มมดเท่าไหร่ สนุกกับการทำกิจกรรมทาโกยากิไข่ข้าว
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอและช่วยเพื่อนตอบจากสิ่งที่อาจารย์ถาม
ประเมินอาจารย์
ให้คำแนะนำในการพูดกิจกรรมการสอนหน้าชั้นควรพูดแบบใดและใช้คำถามประเภทใด ไม่ทำให้การนำเสนอน่าเบื่อโดยเอากิจกรรมท้ายคาบมาช่วยให้นักศึกษาไม่รู้สึกเบื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น