วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

วันที่ 9 กันยายน 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่  4
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์  จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 9 กันยายน 2557
เวลา 08.30-12.20 น.







ความรู้ที่ได้รับ
                วันนี้ให้นักศึกษานำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
           คนแรก          เรื่อง  จุดประเด็นเด็กคิดนอกกรอบ กิจกรรมสนุกกับของเล่นวิทยาศาสตร์
           คนที่สอง       เรื่อง  ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์
           คนทีสาม       เรื่อง วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์สำคัญอย่างไรกับอนาคตของชาติ
           คนที่สี่            เรื่อง เมื่อลูกน้อยเรียนรู้วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์จากดนตรี
           คนที่ห้า          เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

      แนวคิดพื้นฐาน
        - การเปลี่ยนแปลง
        - ความแตกต่าว
        - การปรับตัว
        - การพึ่งพาอาศัย
        - ความสมดุล   


       ความสำคัญ
        - ตอบสนองความต้องการของวัยเด็ก
        - พัฒนาทักษะทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
        - เสริมสร้างประสบการณ์

       เจตคติทางวิทยาศาสตร์
        - ความอยากรู้อยากเห็น
        - ความเพียรพยายาม
        - ความมีเหตุผล
        - ความซื่อสัตย์
        - ความมีระเบียบวินัย
        - ความใจกว้าง

       ประโยชน์
        - พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
        - พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
        - สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง


การนำไปประยุกต์ใช้

       จากการเรียนวันนี้รู้ถึงทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยว่ามีส่วนประกอบสิ่งใดบ้าง แนวคิดพื้นฐานนั้นสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง โดยมีเจตคติเข้ามาเพื่อทำให้เราสามารถนำไปจัดกิจกรรมกับเด็กได้ 

ประเมินตนเอง    ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอบทความและตีความหมายได้บางส่วน
ประเมินเพื่อน      ให้ความรู้ถึงบทความได้ชัดเจน ตั้งใจฟังครูและเพื่อน
ประเมินอาจารย์   แนะนำถึงการทำบล็อคและให้บล็อคมีภาษาอังกฤษ





  

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

วันที่ 2 กันยายน 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์  จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 2 กันยายน 2557
เวลา 08.30-12.20 น.





          ความรู้ที่ได้รับ

                         วันนี้ให้นักศึกษานำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
           คนแรก       
             Miss Kamonwan Nakwichen  
             เรื่อง  วิทยาศาสตร์และการทดลอง 
           คนที่สอง      
             Miss Sirada Sukbut                
             เรื่อง ภารกิจตามหาใบไม้
           คนที่สาม   
             Miss Siripon Pudlo   
             เรื่องไม่เล็กของเด็กชายขอบ กับการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการ
           คนที่สี่          
             Miss Siriwan Krutnia   
             เรื่อง การแยกประเภทเมล็ดพืช
           คนที่ห้า        
             Miss Kwanruthai Yaisuk    
             เรื่อง เจ้าลูกโป่ง

                      เมื่อแต่ละคนได้ออกไปพูดถึงบทความแล้วครูก็ให้นักศึกษาช่วยกันอภิปรายถึงบทความ                   แต่ละเรื่องเพื่อให้เกิดความเข้าใจกับเนื้อหาที่ออกมานำเสนอ


                     วันนี้สอนถึงธรรมชาติของเด็กและอธิบายถึงคุณลักษณะตามวัย การจัดกิจกรรมพัฒนาเด็ก               และหลักการแนวคิดตามนักทฤษฎี ดังนี้
  
              ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย 
                 -พอใจคนที่ตามใจ
                 -สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
                 -มีช่วงความสนใจสั้น (8-10 นาที)
                 -ชอบถาม "ทำไม" ตลอดเวลา
                 -อยากรู้อยากเห็นรอบตัว
                 -ชอบเล่นแบบคู่ขนาน 
                 -ช่วยตนเองได้
                 -ร้องเพลงง่ายๆแสดงท่าทางเลียนแบบ
                 -ชอบคิดที่จะทำให้ผู้ใหย่พอใจและได้คำชม


              คุณลักษณะตามวัย อายุ 3-5 ปี

           3 ปี   สามารถบอกชื่อของตนเองได้และสามารถสำรวจสิ่งต่างๆได้
           4 ปี   สามารถจำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสและพยายามแก้ปัญหาด้วยตนเอง
           5 ปี   สามารถบอกถึงชื่อ นามสกุล และอายุได้ สนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวได้


             การจัดกิจกรรมพัฒนาเด็ก
           -จัดเพื่อให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ หู ตา จมูก ปาก ลิ้น กาย
           -จัดเพื่อให้เด็กเรียนรู้จากเรื่องใกล้ตัวและสามารถจับต้องได้
           -จัดเพื่อให้เด็กมีโอกาสแสดงความคิดเห็น มีความมั่นใจในการตอบมากขึ้น
           -จัดเพื่อให้เด็กฝึกทักาะการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ กับสิ่งที่ได้ทำ



            นักทฤษฎี 
                 กีเซล (Gesell)   เชื่อว่า พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควร              พัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ 
                 ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็น            ผู้ใหญ่ หากเด็ก ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ จะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับ                ข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
                 อีริคสัน (Erikson)  เชื่อว่า ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมอง              โลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น 
                 เพียเจท์ (Piaget)  เชื่อว่า พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมี                        ปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา            และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น 
                 ดิวอี้ (Dewey)   เชื่อว่า เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ 
                 สกินเนอร์ (Skinner)   เชื่อว่า ถ้าเด็กได้รับการชมเชย และประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม              เด็กสนใจที่ทำต่อไป 
                 เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi)   เชื่อว่า ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้ง           ด้านร่างกายและสติปัญญา 
                 เฟรอเบล (Froeble)   เชื่อว่า  ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้             เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
                 เอลคายน์ (Elkind)    เชื่อว่า  การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก

             การนำไปประยุกต์ใช้
                   สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยในแต่ละวัยได้มากขึ้นเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้               ที่แท้จริงและสามารถนำทฤษฎีต่างๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้

      ประเมินตนเอง       ตั้งใจฟังและเข้าใจถึงสิ่งที่ได้เรียน
      ประเมินเพื่อน         เพื่อนๆตั้งใจฟังและซักถามสิ่งที่ไม่เข้าใจจากอาจารย์ผู้สอน
      ประเมินอาจารย์     บอกแนวแก้ไขในการนำเสนอบทความให้มีความมั่นใจมากขึ้น พูดให้ชัดเจน และ                                         แนะนำในเรื่องการแต่งตัวทรงผม 





  

วันที่ 26 สิงหาคม 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์  จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 26 สิงหาคม 2557
เวลา 08.30-12.20 น.




          ความรู้ที่ได้รับ 
           วันนี้อาจารย์สอนถึงเด็กปฐมวัยว่า ในชีวิตประจำวัน เด็กปฐมวัยใช้ชีวิตแต่ละวันมีวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องโดยการทดลอง เป็นตัวทำให้เกิดสิ่งต่างๆแม้กระทั่งการทำกิจวัติประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว เป็นต้น  วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และภาษาสามารถเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับตัวเด็กได้
           พัฒนาการ =บอกถึงพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกตามวัยโดยการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
           วิทยาศาสตร์ = ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ความพยายามเช่นนี้ติดตัวมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและซักถาม เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอและบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินผู้ใหญ่จะให้คำตอบ เมื่อผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็ก เด็กก็จะไม่มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเป็นของตัวเอง ไม่มีความกล้าแสดงออก เด็กจะไม่ได้เรียนจากประสบการณ์โดยตรงและจะไม่สามารถไปต่อยอดในระดับถัดไปได้ ดังนั้นเด็กจะต้องมีการลงมือทำอย่างแท้จริงเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 4 ด้าน และได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

           การนำไปประยุกต์ใช้
            สามารถนำวิทยาศาตร์ไปประยุกต์ใช้ได้ในรายวิชาต่างๆ เช่น การเล่นกลางแจ้ง เป็นต้น  และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองในการดำรงชีวิตได้



          ประเมินตนเอง
                 ตั้งใจฟังที่ครูสอนเข้าใจถึงคำว่าวิทยาสาตร์กับเด็กปฐมวัยมากขึ้น
         
          ประเมินเพื่อน
                 เข้าใจถึงเนื้อหาการสอนได้ มีข้อสงสัยซักถามตอบได้
          
          ประเมินอาจารย์
                  แนะนำข้อคิดดีๆจากการเรียนวันนี้ว่าควรนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายๆเรื่อง






  

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

วันที่ 19 สิงหาคม 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์  จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 19 สิงหาคม 2557
เวลา 08.30-12.20 น.




      ความรู้ที่ได้รับ 
                            อาจารย์แจกแนวการเรียนการสอน แนะแนวและอธิบายถึงวิชาการจัดประสบการณ์                      วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และบอกถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนี้

        1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 
        2.ด้านความรู้
        3.ด้านทักษะทางปัญญา
        4.ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
        5.ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
        6.ด้านการจัดการเรียนรู้

                          วันนี้อาจารย์ได้อธิบายถึงการสร้างบล็อคให้มีองค์ประกอบดังนี้
        -ชื่อบล็อคและคำอธิบายบล็อค
        -รูปและข้อมูลผู้เรียน
        -ปฏิทินและนาฬิกา
        -เชื่อมโยงบล็อคอาจารย์ผู้สอน,หน่วยงานสนับสนุน,แนวการสอน,งานวิจัยด้าน                                         คณิตศาสตร์,บทความ,สื่อ(เพลง เกม นิทาน แบบฝึกหัด ของเล่น)

     การนำไปประยุกต์ใช้
                 สามารถนำคำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอนให้เกิดความเป็นระเบียบวินัย รู้จักใช้ความคิดเป็นของ           ตัวเองในการทำงานหลายๆอย่าง และสามารถนำบล็อคไปเผยแพร่ได้ในหลายๆรายวิชา

    ประเมินตนเอง       ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายรายวิชา แต่งกายเรียบร้อย
    ประเมินเพื่อน         ตั้งใจฟังครูอย่างตั้งใจ มีข้อสงสัยยกมือถาม แต่งกายเรียบร้อย
    ประเมินอาจารย์     ให้ข้อคิดกับการเรียนการสอนในรายวิชา กระตุ้นผู้เรียนให้มีความคิดเป็นของตัวเอง