วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วันที่ 2 ธันวาคม 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่  16
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอน อาจารย์  จินตนา สุขสำราญ
วันอังคาร ที่ 2 ธันวาคม 2557
เวลา 08.30-12.20 น.






 กิจกรรมในวันนี้
       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้นำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัยออกไปนำเสนอโดยสิ่งที่นำเสนอมีสิ่งใดที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และกิจกรรมที่น่าสนใจจากวิจัยและโทรทัศน์ครูนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ได้จริงหรือไม่ 
        จากนั้นให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มตามที่เขียนแผนการสอนและทำแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียนเพื่อสามารถนำไปให้ผู้ปกครองได้รู้ว่าสิ่งที่เด็กเรียนเรียนรู้อะไรบ้างโดยสิ่งที่เรียนคือหน่วยที่นักศึกษาได้เขียนแผนการสอนร่วมกัน โดยแผ่นพับจะมีสิ่งที่เด็กสามารถนำกลับไปทำที่บ้านร่วมกับพ่อแม่ได้และผู้ปกครองยังมีส่วนร่วมกับสิ่งที่ลูกได้เรียนจากแผ่นพับที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นเพื่อทำให้ลูกเกิดการเรียนรู้และสิ่งแปลกใหม่จากที่บ้านและโรงเรียน สานสัมพันธ์จากคนในครอบครัวรวมถึงคนรอบข้างอีกด้วยและเด็กสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องให้พ่อแม่สอน














แผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านโรงเรียน





การนำไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำการทำแผ่นพับไปใช้ในการเรียนการสอนโดยส่งให้ผู้ปกครองได้ดูว่าสิ่งที่โรงเรียนสอนนั้นเด็กสามารถเรียนรู้ได้และลงมือปฏิบัติทำจริงและสามารถนำเทคนิคการทำแผ่นพับจากที่อาจารย์แนะนำไปใช้ในการต่อยอดการทำแผ่นพับ


ประเมินตนเอง
     ร่วมมือทำแผ่นพับของกลุ่ม ช่วยการเขียนแผ่นพับ
ประเมินเพื่อน
     ร่วมกันทำแผ่นพับและรับฟังข้อแก้ไขจากที่อาจารย์อธิบายหลังจากส่ง
ประเมินอาจารย์
     ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำแผ่นพับอย่างระเอียดเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ได้จริง



            




สรุปบทความ


เรื่อง  ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา เป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงสุดของชีวิต ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยคิดหาเหตุและผล แสวงหาความรู้ แก้ปัญหาได้โดยควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง ควรส่งเสริมให้เด็กได้มีการพัฒนาทั้ง 7 กระบวนการดังนี้
      1.)ทักษะการสังเกต คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5รวมกันไปสัมผัสกับวัตถุหรือเหตุการณ์
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังเกตคือ
 - การสังเกตโดยใช้ตา
 - การสังเกตโดยใช้หู    
 - การสังเกตโดยใช้จมูก
 - การสังเกตโดยใช้ลิ้น
 - การสังเกตโดยใช้การสัมผัสทางผิวหนัง
      2.)ทักษะการจำแนกประเภท คือการแบ่งสิ่งของโดยหาเกณฑ์จะมี 3 อย่าง คือความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งเด็กจะลือกแต่ละเกณฑ์ในการใช้ เช่น กิจกรรมการแยกประเภทเมล็ดพืช เมล็ดพืชจะมีความแตกต่างกัน เช่น ขนาด รูปร่าง สี และพื้นผิว เป็นต้น
      3.)ทักษะการวัด คือการวัดหาปริมาณของสิ่งที่ต้องการทราบ กิจกรรมที่ใช้จะเป็นการวัดโต๊ะเรียนสูงกี่คืบ  กระดาษดำยาวกี่ศอก เป็นต้น
      4.)ทักษะการสื่อความหมาย คือการพูด การเขียนรูปภาพและท่าทาง การแสดงสีหน้ารวมทั้งความรู้สึก การจัดกิจกรรมเช่น กิจกรรมที่ให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุที่ลอยน้ำได้ วัตถุบางอย่างสามารถลอยได้ เป็นต้น
      5.)ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล คือการเพิ่มเติมกับความคิดเห็นที่มีอยู่ให้สมเหตุสมผลโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเข้ามาช่วย ข้อมูลอาจมาจากการสังเกต การวัดหรือทดลอง
      6.)ทักษะการหาความสัมพัมธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา คือที่ว่างที่วัตถุครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสนั้นสำหรับเด็กปฐมวัยอาจได้แก่ การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3มิติ การเขียนภาพ2มิติแทน3มิติ การบอกทิศทาง กิจกรรมที่ส่งเสริมเช่น การสังเกตเงาเพื่อให้เด็กสามารถบอกชื่อวัตถุจากการสังเกตและเปรียบเทียบเงาที่ได้กับวัตถุของจริงได้
      7.)ทักษะการคำนวณ คือความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่างและการคำนวณที่ซับซ้อน เช่นการหาสูตรตั้งแต่ง่ายๆจนยากขึ้นเรื่อยๆ ทักษะที่ควรส่งเสริมเด็กปฐมวัย ได้แก่ การนับจำนวนของวัตถุ การนับจำนวนตัวเลข หรือบอกลักษณะต่างๆ



แหล่งที่มา    http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=20593









สรุปโทรทัศน์ครู



เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
                
              วิดีโอนี้ได้เป็นการสนทนาระหว่างอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์ได้อภิปลายกันว่าสอนเด็กอย่างไรให้จิตวิทยาศาสตร์ เด็กส่วนมากจะเบื่อวิทยาศาสตร์เพราะเป็นวิชาที่น่าเบื่อสำหรับเด็กแต่สิ่งที่จะทำให้เด็กเกิดจิตวิทยาศาสตร์นั้นขึ้นอยู่กับการเรียนการสอนของครูว่าจะมีสิ่งเร้าที่จะทำให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ ครูควรจะมีการสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนให้มีความน่าตื่นเต้น สนุกสนาน โดยนำการทดลองเข้ามาเป็นตัวดึงดูดดความสนใจมากขึ้นและการวัดผลว่าเด็กจะมีจิตวิทยาศาสตร์หรือไม่จะเกิดจากการสังเกตของครูว่าเด็กมีความสนใจ อยากรู้อยากเห็น ตื่นเต้นกับการทดลองมากแค่ไหน หรือมีความสนุกสนานกับกิจกรรมที่ทำไหม หรืออาจจะสัมภาษณ์จากผู้ปกครองเมื่อเด็กกลับไปที่บ้านได้เล่าให้พ่อแม่ฟังไหมว่าเด็กได้ทดลองหรือเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องใด  ในการสอนวิชาวิทยาสาสตร์จะเป็นการสอนจากสิ่งที่ใกล้ตัวไปสิ่งไกลตัวหรือรูปธรรมไปนามธรรม เช่น การตื่นนอนมาอาบน้ำแปรงฟัง เด็กจะมีการสังเกตว่าทำไมเราต้องบีบยาสีฟันในตอนเช้าและทำไมยาสีฟันถึงทำให้ฟันสะอาดและหอม เป็นต้น ครูควรมีการเตรียมตัวเมื่อมีการทดลองทุกครั้งเพราะเด็กไม่สามารถเตรียมได้เองและครูควรวางแผนก่อนการเรียนการสอนทุกครั้ง















สรุปวิจัย


ชื่อวิจัย     การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ผู้แต่ง     นางสาว จุฑามาศ  เรือนก๋า

วัตถุประสงค์ 
1.เพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.เพื่อศึกษาผลการใช้ชุกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

กลุ่มตัวอย่าง

- ด้านประชากร
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านหลวง อำเภอฝาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

- ด้านเนื้อหา
หน่วยการเรียนรู้ที่1-หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี เนื้อหาเกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ รูปร่าง ทีอยู่อาศัยและอาหารของสัตว์แต่ละชนิก
หน่วยการเรียนรู้ที่2-หน่วยผลไม้น่าทาน เนื้อหาเกี่ยวกับชื่อลักษณะ รูปร่าง ประโยชน์และวิธีรับประทานผลไม้แต่ละชนิด
หน่วยการเรียนรู้ที่3-หน่วยดอกไม้แสนสวย เนื้อหาเกี่ยวกับชื่อ ส่วนประกอบ ประโยชน์และวิธีการดูแลรักษาดอกไม้
หน่วยการเรียนรู้ที่4-หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก เนื้อหาเกี่ยวกับช่อ ส่วนประกอบ ประโยชน์และวิธีการดูแลรักษาต้นไม้
หน่วยการเรียนรู้ที่5-หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ เนื้อหาเกี่ยวกับสสาร อากาศ การจมการลอยและแม่เหล็ก


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด้ฏปฐมวัย จำนวน 5 ชุด 
- แบบทดสอบวัดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 4 ทักษะเป็นข้อคำถามที่มี่ลักษณะเป็นรูปภาพ จำนวน 4 ชุด 25 ข้อ

การดำเนินการวิจัย
   ใช้การจัดกิจกรรมเป็นเวลาติดต่อกัน วันละ 1ชุด ชุดละ 1 ชั่วโมง รวม 20 ชั่งโมง

สรุปผลการวิจัย
    ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้นเมื่อใช้ชุดฝึกทักษาะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กมีความสนใจและพบว่าเด็กมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าการจัดประสบการณ์และเล่นตามมุมปกติ